
ฟังเนื้อหา
Getting your Trinity Audio player ready...
|
คนที่มาเที่ยงเชียงรายอาจจะเคยมีประสบการณ์ไม่ว่าจะเพื่อน ญาติ หรือคนที่บ้านบอกว่า ไปเชียงรายอย่าลืมเอาของฝากกลับมาด้วยะ บางทีมันก็เป็นการปวดหัวคิดไม่ตกเพราะซื้ออะไรดีที่เป็นเอกลักษณ์และมีเฉพาะที่เชียงราย หลายๆอย่างทุกก็มีขายทั่วประเทศอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ ใส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม แคปหมู ก็มีขายกันทั่วตามหน้าอยู่แล้ว ครั้นจะซื้อรถด่วนบางคนก็ไม่กินอีกแถมราคาก็แพงมาก
มันต้องเป็นของที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเชียงราย กินอร่อย แทบจะทุกคนชอบ ราคาไม่แพง และหาจากพื้นที่อื่นได้ไม่ง่ายนัก
และก็อยู่อย่างหนึ่งที่หาได้ง่ายๆที่เชียงรายแต่เมื่อไปจังหวัดอื่นหรือที่กรุงเทพฯก็จะหายาก (จริงๆถ้าไปในเทศการอาหารเหนือตามห้างต่างๆก็หาได้ไม่ยากเท่าไหร่) ของที่ว่านั้นก็คือ สับปะรดภูแล
ตอนนี้สับปะรดภูแลน่าเป็นของกินที่เอาไปเป็นของฝากได้เหมาะที่สุดอย่างหนึ่ง หรือจะซื้อมากินเองก็อร่อยแตกต่างจากสับปะรดหลายๆพันธุ์เพราะหวานไม่กัดลิ้นแม้แต่แกนก็กินได้ไม่แข็ง มีขนาดเล็กพกพาง่าย ที่สำคัญทนต่อการกระแทกช้ำยากกว่าพันธุ์อื่นๆ
สับปะรดภูแลเชียงราย ชื่อภาษาอังกฤษ Chiangrai Phulae Pineapple) หรือในชื่อเรียก สับปะรดภูแล เป็นสับปะรดหรือในชื่อเรียก สับปะรดภูแล เป็นสับปะรดสายพันธุ์ในกลุ่มควีน ลูกเล็ก หวาน อร่อย และสามารถปลูกได้ตลอดปี
ดั้งเดิมแล้วสัปปะรดที่ขึ้นชื่อที่สุดของเชียงรายไม่ใช่สัปปะรดภูแล แต่เป็น สัปปะรดนางแล ต่างหาก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง เชียงราย
สัปประดนางแลมีขนาดผลใหญ่ตาโปนยื่นออกมาหวานหอม เอกลักษณ์เฉพาะตัวของสับปะรดนางแล คือ สีน้ำผึ้ง หวานฉ่ำ กลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง
สับปะรดนางแลถูกนำเข้ามาปลูกจากประเทศสิงคโปร์ โดยคนจีนกลุ่มหนึ่งเมื่อประมาณ ปีพ.ศ. 2480 โดยครั้งแรกได้ถูกนำมาปลูกหลังโบสถ “คริสตจักรบ้านป่าซางวิวัฒน์” เป็นคร้ังแรก และขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ ในพื้นที่จำกัดแถวนั้น
ในปี 2505 กำนันคำลือ เขื่อนเพชร กำนันเก่าตำบลนางแล ได้ขอซื้อหน่อสับปะรดแล้วนำมาขยายพันธุ์ต่อไป ด้วยความหวานฉ่ำ สีน้ำผึ้ง และมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง ทำให้สับปะรดนางแลเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และกลายเป็นสัปปะรถที่ปลูกกันแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้นจนเลื่องชื่อไปทั้งจังหวัดในยุคนั้น
แต่ข้อเสียของสับปะรดนางแลคือแต่ข้อเสียของสับปะรดนางแล คือ มีรอบการผลิตเพียงครั้งเดียวต่อปี โดยจะให้ผลผลิตในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมเท่านั้น หากเก็บผลผลิตก่อนหน้าจะไม่ได้ความฉ่ำเนื้อของสับปะรด และกลิ่นไม่หอม สีจะออกขาวไม่เป็นสีน้ำผึ้ง แต่อย่างไรก็ตามข้อเสียตรงนี้ก็ส่งเสริมให้สับปะรดนางแล เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากเพราะมีผลผลิตจำกัด
หลังจากนั้นทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเมื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (วิทยาลัยครูเชียงราย) ได้นำหน่อพันธุ์สับปะรดภูเก็ต จากจังหวัดภูเก็ตมาปลูกครั้งแรกที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย เมื่อ พ.ศ.2520
โดยคุณเอนกได้ใส่บรรทุกรถ 10 ล้อมาให้ปลูกที่บ้านนางแล ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นที่ดินของเอง ปลูกปีแรกๆก็ได้ผลไม่ดีนักลูกเล็ก ไม่หวานเมื่อเทียบกับสับปะรดนางแลพันธุ์น้ำผึ้งที่กำลังมีชื่อโด่งดังในขณะนั้น
อยู่มาวันหนึ่งโครงการพัฒนาดอยตุงได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อหาสินค้าที่แปลกเพื่อเป็นของฝากและอาหารและผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ คุณเอนกได้นำสับปะรดภูเก็ตไปเป็นกลุ่มผลไม้หลังอาหารด้วย ในขณะที่สับปะรดของสวนรายอื่นๆคิดราคาสับปะรดจานละ 30 บาท แต่ของคุณเอนกขายกิโลละ 5 บาท จึงทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกว่าเป็นของที่คุ้มค่า

ตอนนั้นยังไม่มีชื่อผู้คนในงานต่างก็ถามว่าเป็นสับปะรดพันธุ์อะไร ขณะนั้นมีสื่อมวลชนร่วมงานด้วย หลังจากที่ได้ฟังคุณเอนกได้เล่าที่มาที่ไปแล้วมีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” เป็นคนเรียกชื่อว่า “ภูแล” โดยเอาคำแรก ของสับปะรดภูเก็ต และ ตัวท้ายของสับปะรดนางแลหรือแหล่งที่ปลูกซึ่งก็คือตำบลนาง มาผสมกันเป็น “สับปะรดภูแล” หลังจากนั้นเป็นต้นมา
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของเชียงรายทำให้สับปะรดภูแลมีลักษณะที่แตกต่างจากสับปะรดที่ปลูกที่ภูเก็ต คือ ขนาดผลเล็ก มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.15-1 กิโลกรัม จุกมีลักษณะชี้ตรว ตาผลเต่งตึง โปนออกมาจากผลอย่างเห็นได้ชัด เปลือกค่อนข้างหนา ในตอนแรกดูเหมือนจะเป็นข้อด้อยเพราะมีขนาดเล็กดูไม่มีราคาสู้ที่ปลูกที่ภูเก็ตไม่ได้
แต่กลายเป็นว่าคุณสมบัติเหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวและเป็นจุดแข็งของสับปะรดพันธุ์นี้ เพราะรสชาดหวานปานกลางถึงหวานมาก เปลือกค่อนข้างหนาเหมาะสำหรับการขนส่งระยะไกล เมื่อสุกเปลือกผลจะมีสีเหลืองหรือเหลืองปนเขียว เนื้อสีเหลือง กรอบ กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบรับประทานได้ ปลูกได้ตลอดทั้งปี
ด้วยเหตุนี้เองหลังจากนั้นมาจึงทำให้ความนิยมของสับปะรดนางแลลดลง แต่สับปะรดภูแลกลับมาเพิ่มมากขึ้นจนในที่สุดกลายมาเป็นสินค้าเกษตรที่ขึ้นที่ที่สุดอย่างหนึ่งของเชียงราย และกลายมาเป็นสับปะรดประจำจังหวัดแทนสับปะรดนางแลไปในที่สุด
ปัจจุบันสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงรายส่งเสริมปลูกใน 3 ตำบล คือ นางแล ท่าสุด และตำบลบ้านดู่ พื้นที่ 2,012 ไร่ มีเกษตรกรปลูก 222 ราย พื้นที่ปลูกบนภูเขาลาดเอียง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 18-25 องศาเซลเซียสซึ่งเหมาะสมกับการปลูกสับปะรถพันธุ์นี้เป็นอย่างดี
วันที่ 8 พ.ย.2548 ก็ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว
นักท่องเที่ยวอาจจะคิดว่าต้องไปซื้อที่ตำบลนางแลเลยถึงจะได้สับปะรดคุณคุณภาพดี แต่จริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องไปถึงแหล่งสับปะรถภูแลมีขายตามตลาดสด นัดนัด ทั่วไป หาได้ง่ายมาก หรือแม้แต่ข้างทางก็มีแผงขายแบบหาได้ไม่ยากนัก ถ้าจะซื้อไปเป็นของฝากควรซื้อแบบไม่ปอกเปลือกเพราะสามารถอยู่ได้นานเป็นอาทิตย์